ปัญหาของฟันคุด ฟันคุดคืออะไร ต้องผ่าออกจริงหรือเปล่า วิธีรักษา

ปัญหาของฟันคุด

หลายคนคงสงสัยว่าฟันคุดคืออะไร มีลักษณะเป็นแบบไหน แล้วมีผลอันตรายกับตัวเรารึเปล่า วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันเลยจ้า

ฟันคุด หมายถึง ฟันกรามที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ อย่างเช่นมีเหงือกหรือกระดูกบัง โดยปกติส่วนใหญ่แล้วฟันคุดจะขึ้นด้านในสุดของปาก อาจมีลักษณะ แนวนอน เอียงข้าง ติดกับซี่ฟันกรามซี่ในสุดของเรา จะเกิดในช่วงอายุ 18-25 ปี ฟันคุดแบบต้องกรอกระดูก คือ ฟันคุดที่ยังหุ้มอยู่ในขากรรไกร ฟันคุดแบบไม่ต้องกรอกระดูก คือ ฟันคุดที่งอกออกมาพ้นขากรรไกร แต่ยังพ้นของเหงือก

สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันคุด

สาเหตุหลักๆเลยเกิดจากที่ขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ถ้าสมมุติว่าฟันของเรามีลักษณะที่ซี่ใหญ่ แต่ขากรรไกรของเราเล็ก อาจทำให้ฟันไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากของเราได้ปกติ จึงทำให้เป็นสาเหตุของการมีฟันคุดนั่นเอง แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีฟันคุดเสมอไป หากใครตรวจพบว่า แล้วไปปรึกษาทัณตแพทย์ โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้เอาฟันคุดซี่นั้นออก ก่อนที่จะเกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรง

ลักษณะอาการของฟันคุด

  • แก้มด้านข้างบวม หรือใบหน้าด้านที่เกิดฟันคุดปูดบวมผิดปกติ
  • เหงือกบวมและแดง
  • มีฝีในช่องปาก

ทำไมต้องผ่าฟันคุดออก

  1. ป้องกันการปวด เพราะแรงผลักจากฟันคุด พยายามงอกออกมาจากขากรรไกร แต่ถูกกันจากฟันซี่ข้าง อาจทำให้ฟันด้านข้างเอียง และย้อนกลับไปกดทับที่เส้นประสาทของขากรรไกร เลยทำให้มีอาการปวดในบริเวณที่ฟันคุดซี่นั้นอยู่ อาจลามไปถึง อาการปวดศีรษะ ปวดตา ปวดหู และจมูก เป็นต้น
  2. ป้องกันซอกฟัน และฟันซี่ข้างเครียงผุ หากฟันคุดโผล่ขึ้นมาแล้ว แต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนฟันปกติ อาจจะเบียด หรือ เบี้ยว เอียง ทำให้เวลาเรารับประทานอาหาร ทำให้มีเศษอาหารติดอยู่ระหว่างซอกฟัน ยากต่อการทำความสะอาดได้ เลยทำให้เกิดฟันผุและมีกลิ่นปากนั่นเอง
  3. ป้องกันเหงือกที่ปกคลุมฟันอับเสบ เนื่องจากฟันคุดที่ขึ้นมาได้ไม่เต็มที่ ทำให้มีเหงือกคลุมฟันอยู่เป็นบางส่วน ทำให้เวลาเรารับประทานอาหารมีเศษอาหารเข้าไปติด เชื้อแบททีเรียสะสม เนื่องจากบางทีเราอาจจะไม่เห็น หรือทำความสะอาดไม่ทั่วถึง ทำให้เหงือกบริเวรนั้นอักเสบ บวมหรืออาจมีหนอง นับว่าอันตรายเป็นอย่างมาก
  4. ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก หากเราทิ้งฟันคุดไว้เป็นเวลานาน ไม่ยอมกำจัดทิ้ง อาจทำให้เนื้อเยือที่ปกคลุมฟันคุดไว้ มีลักษณะที่ใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ ส่งผลทำให้ใบหน้ามีลักษณะที่เบี้ยว ขากรรไกรเบี้ยวเอียง วิธีการรักษาในกรณีนี้ ต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก และส่งผลให้ใบหน้าอาจไม่เหมือนเดิม
  5. ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก ในพื้นที่บนขากรรไกร ที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะมีลักษณะบางกว่าที่อื่น หากได้รับการกระแทกแรงๆจากอุบัติเหตุ อาจทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นแตกหักได้
  6. ป้องกันการละลายตัวของกระดูก กระดูกและรากฟันซี่ข้างเคียงของฟันคุดกรอบได้ เนื่องจากถูกแรงดันจากฟันคุดที่พยายามเบียดแทรกขึ้นมา
  7. การจัดฟัน หลายคนที่ไปพบทัณตแพทย์เพื่อปรึกษาการจัดฟัน หากพบว่าใครมีฟันคุด ทัณตแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เอาฟันคุดออกก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน เพราะหากเก็บไว้ อาจส่งผลเสียทำให้ขณะจัดฟันอยู่ ฟันคุดซี่นี้จะดันทำให้ฟันด้านข้างเอียงหรือล้ม และอาจทำให้ฟันผุอีกด้วย

วิธีดูแลแผลหลังจากการผ่าฟันคุด ถอนฟัน ผ่าตัดในช่องปาก

  1. กัดผ้าก๊อซให้แน่นประมาณ 1 ชั่วโมง หากมีเลือด หรือน้ำลายให้กลืน ห้ามบ้วนทิ้ง ห้ามอมน้ำลาย ถ้าครบ 1 ชั่วโมง แล้วยังมีเลือดไหลอยู่ให้เปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่ และกัดไว้ 1 ชั่วโมง
    **กรณีที่กัดผ้าก๊อซ ครบ 2 ชั่วโมง หลังจากทำการถอนฟันหรือผ่าฟันออกไป แล้วเลือดยังไหลไม่หยุด ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที
  2. ห้ามอมน้ำแข็ง ควรใช้น้ำแข็งหรือเจลเย็นห่อประคบไว้ข้างแก้มบริเวณที่ถอนหรือผ่าฟันออก 2 วันแรก หลังจากนั้นให้ประคบร้อน
  3. แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ แต่ระวังบริเวณแผล
  4. ห้ามบ้วนน้ำแรงๆหรือใช้น้ำยาบ้วนปากในวันแรก วันต่อไปให้ใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือน้ำเกลืออุ่นๆบ้วนปากได้
  5. ถ้ามีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวด หรือรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  6. ห้ามแคะ เขี่ย ดูดแผล โดยเด็ดขาด
  7. ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไปในช่วงแรกของการผ่าหรือถอนฟัน
  8. ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมาทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารเผ็ดจัด และร้อนจัด
  9. หากมีการเย็บแผล ให้มาตัดไหมหลังทำการผ่าประมาณ 7 วัน
  10. หากมีอาการปวด หรือบวมมาก หรือมีอาการผิดปกติ ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์โดยทันที

เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องราวที่เรานำมาเสนอ ปัญหาของฟันคุด ฟันคุดคืออะไร ต้องผ่าออกจริงหรือเปล่า และ วิธีรักษา เรื่องน่ารู้ สุขภาพน่าสนใจอื่นๆ จะนำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนๆได้อ่านกันอีกนะครับ สวัสดีครับ